วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว

            “เงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว” หรือที่ข้าราชการส่วนใหญ่มักจะเรียกติดปากว่า “ค่าครองชีพชั่วคราว”  แต่นี่ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของเรื่องที่ผมจะเล่าให้ทุกท่านได้ฟังในบทความนี้ครับ
            ที่มาของเรื่องที่ผมจะเล่าต่อไปนี้เกิดขึ้นจากการที่รุ่นน้องข้าราชการของผมได้โพสข้อความแนวประชดประชันลงใน Facebook เกี่ยวกับการที่ตัวเองถูกลดค่าครองชีพชั่วคราวให้ได้รับน้อยลง  ประมาณ “จะเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการทำไมในเมื่อก็จะลดค่าครองชีพอยู่ดี”  เมื่อได้อ่านข้อความเช่นนั้นผมก็รู้สึกตกใจเพราะรุ่นน้องคนนี้มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับรับค่าครองชีพชั่วคราวโดยคิดว่าจะได้ 1,500 บาท ต่อเดือนไปตลอด (รุ่นน้องผมคนนี้นั่งในตำแหน่งประเภททั่วไป)
            เมื่อเป็นเช่นนั้นผมจึงอธิบายให้เขาฟังว่า  ที่เขาเข้าใจนั้นยังไม่ถูกต้องการรับค่าครองชีพชั่วคราวในตำแหน่งประเภททั่วไปนั้น  จะได้รับ 1,500 บาท ต่อเดือน แต่รวมกับเงินเดือนแล้วต้องไม่เกิน 12,285 บาท ไม่เหมือนผู้ที่นั่งตำแหน่งประเภทวิชาการที่จะได้เงินเพิ่มจนถึง 15,000 บาท  เมื่อเงินเดือนเราเพิ่มขึ้นขยับเข้าใกล้ 12,285 บาท เท่าไหร่  ค่าครองชีพชั่วคราวที่เราได้รับก็จะลดลงเรื่อยๆ  และเมื่อเงินเดือนเราเท่ากับ 12,285 บาท ขึ้นไปเราก็จะไม่ได้รับค่าครองชีพชั่วคราวอีกต่อไป  เขาถึงเรียกว่าค่าครองชีพชั่วคราวไม่เรียกว่าค่าครองชีพถาวรนั่นเองครับ
            ข้อดีของการเพิ่มเงินเดือนแล้วค่าครองชีพชั่วคราวลดลง คือ  เงินเดือน เราจะได้รับทุกเดือน  ส่วนค่าครองชีพชั่วคราวเราจะได้รับเป็นเงินตกเบิกเมื่อคำสั่งเลื่อนเงินเดือนออกในแต่ละรอบการประเมิน  ยิ่งคำสั่งออกช้าเท่าไหร่เราก็จะได้รับเงินตกเบิกช้าเท่านั้น

            หากผู้อ่านสงสัยอะไรเกี่ยวกับ “เงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว” ก็สามารถสอบถามได้ด้านล่างนี้ครับ